เห็ดอีสาน
เห็ดที่พบในบางพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ
First of all
เห็ด (Mushrooms)
เห็ด (Mushroom) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างสารอาหารเองได้ แต่อาศัยการย่อยสลายซากพืช หรือดิน ในการเจริญเติบโต ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ คือ รักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต โดยการนำอินทรีย์สารกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเส้นใยเห็ดสามารถแทรกไปในดินเพื่อดึงดูดสารอาหารทำให้เห็ดเจริญเติบโต การเจริญเติบโตของเห็ดต้องการสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ มีความชื้นที่เหมาะสม ในป่าไม้ ที่มีความหลากหลายของพรรณไม้ เนื่องจากเห็ดมีความจำเพาะต่อพืชในการเจริญ ดังนั้น ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า และสภาพแวดล้อม จึงมีอิทธิพลต่อการเจริญของเห็ด เห็ดจะมีวงจรชีวิตสั้น จากเส้นใย และเจริญเป็นดอกเห็ด เพื่อสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ และกระจายสปอร์ ในสิ่งแวดล้อมที่อาศัย และเมื่อเจริญเป็นดอกเห็ด ก็มีชีวิตอยู่ไม่นานก็ตาย และสลายไป
Not to mention
ประเภทของเห็ด
เห็ดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยดูจากความสัมพันธ์ของเห็ดกับสิ่งที่เห็ดเจริญอยู่ หรือสิ่งที่ ให้อาหารแก่เห็ด
saprophytic mushroom คือเห็ดที่เจริญอยู่บนเศษซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่กำลังย่อยสลายผุพัง มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายในธรรมชาติ
parasitic mushroom คือเห็ดที่เจริญอยู่บนสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตเช่น ลำต้นของต้นไม้ใหญ่ที่ยังมีชีวิต เป็นต้น
mycorrhizal mushroom คือเห็ดที่มีเส้นใยเจริญอยู่กับรากของพืชชั้นสูง แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกล่าวคือเห็ดได้รับสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตจากที่พืชสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ในการเติบโต ส่วนพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆและน้ำที่เส้นใยของเห็ดดูดขึ้นมาจากดิน แล้วส่งผ่านมายังเซลล์พืช ความเป็นอยู่แบบนี้ช่วยให้ทั้งเห็ดและพืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยเฉพาะพืช มีความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมสูงกว่าปกติ
ดอกเห็ดหลายชนิดใช้ประกอบอาหารรับประทานได้ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและที่สำคัญเห็ดหลายชนิดมีคุณค่าทางสมุนไพรที่มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคได้ ใช้สกัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพจากเห็ดได้ ดังนั้น เห็ดจึงเป็นแหล่งอาหารสุขภาพสำหรับมนุษย์ ดังจะเห็นได้จากเมื่อถึงฤดูฝน จะมีผู้คนจำนวนมากเข้าป่า เพื่อเก็บเห็ดไปบริโภค รวมถึงการเก็บไปเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับตัวเองได้อีกด้วย อนึ่ง เห็ดมีรูปร่างหน้าตาใกล้เคียงกัน ซึ่งบางชนิดมีพิษ หรือ กินแล้วเมา และส่งผลกระทบถึงชีวิตได้ ดังนั้น จึงเป็นที่มาในการเก็บ และรวบรวมชนิดเห็ดที่พบ ในพื้นที่ป่าชุมชน ในเขตอีสานใต้ เพื่อรวมบรวมและสร้างศูนย์ข้อมูลชนิดเห็ด โดยจะรวบรวมชนิดเห็ดที่พบ จำแนกชนิด และแสดงข้อมูลทางวิชาการ ประกอบ เพื่อให้การเก็บเห็ดไปบริโภค มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ศูนย์ข้อมูลนี้ ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชน และคนรุ่นหลัง ที่เห็นความสำคัญเห็ด ในเชิงของอาหารสุขภาพ สมุนไพร หรือการท่องเที่ยงในป่าชุมชน ที่มีเฉพาะฤดูกาล เท่านั้น ได้ตระหนัก และเลือกบริโภคอย่างเหมาะสมต่อไป
And let's not forget
โครงการสำรวจ รวบรวมชนิดเห็ด
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฐานะหน่วยงานสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้ดำเนินการตามแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2569) ภายใต้แนวทางการดำเนินงาน 8 กิจกรรม บนฐานทรัพยากร 3 ฐาน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จึงเห็นความสำคัญของการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น โดยเฉพาะเห็ดซึ่งมีความสำคัญดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ในปีงบประมาณ 2565 ทำการสำรวจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และปีงบประมาณ 2566 จะขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
โครงการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเห็ดในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง
โครงการสำรวจ รวบรวมข้อมูลเห็ดในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง เป็นโครงการเพื่อสนองพระราชดำริ ใน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ 3 กรอบการดำเนินงาน 8 กิจกรรม ในโครงการนี้ อยู่ภายใต้ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสํารวจเก็บรวบรวมทรัพยากร